Article

อุปกรณ์ในระบบจ่ายปุ๋ยอัตโนมัติ ขั้นพื้นฐาน

1ระบบจ่ายปุ๋ย
1.เลือกน้ำสะอาดที่ใช้ในการปลูก

น้ำสะอาดที่เหมาะสมกับการปลูก หมายถึงน้ำที่มีธาตุอาหารคงเหลืออยู่น้อยที่สุด ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายกับต้นไม้คงเหลือเช่น คลอลีน ที่มากับน้ำประปา, มีความสะอาด ORP +150mV, ค่า pH ที่เหมาะสม, แต่เราไม่ได้สนใจเรื่องแบททีเรีย ที่ส่งผลต่อมนุษย์หากดื่มกิน, เรียกง่ายๆว่า สะอาด แต่ไม่ถึงขั้น Food Grade ก็ได้ใช้ตามต้นทุนและความเหมาะสม

หากใช้น้ำ RO ก็จะมั่นใจได้อีกขั้นว่าจะไม่มีแบททีเรีย ที่ส่งผลต่อมนุษย์เช่นเชื้อ E Coli ที่อาจจะไปติดไปที่ตัวดอก ทำให้ดอกไม่ผ่านมาตรฐาน GACP ประเทศไทย, และน้ำ RO สามารถกรองให้สะอาดในระดับ 0PPM ได้ เพื่อคงสัดส่วนของปุ๋ยให้เหมาะสมที่สุด (ปติจะแนะนำที่ 0-50PPM ให้ขึ้นอยู่กับค่า pH ในแต่ละพื้นที่ เช่น pH 3.5, PPM 0 เทียบกับ pH 5.0 PPM 50 ผมจะแนะนำแบบหลัง เพราะ 50PPM แทบไม่ส่งผลกับต้นม้ แต่ pH ส่งผลกับต้นไม้เต็มๆ)

หรือใช้ระบบกรองน้ำในบ้านเรือน/อาหาร ได้เช่นกัน โดยมีต้นทุนที่ถูกกว่า เช่นถังกรองไฟเบอร์มีหลายขนาด และดูแลได้ง่ายกว่า แต่ไม่การันตีเรื่อง Food Grade และเชื้อแบทีเรีย, และจะเหลือธาตุอาหารอยู่เล็กน้อย 50-100 PPM ซึ่งอยู่ในจุดที่รับได้ โดยใช้ขนาดถึงกรอง และฟิลเตอร์ตามความเหมาะสมได้เลย เช่น, ไส้กรองคาร์บอน, ไส้กรองเรซิน, แอนทราไซต์, แมกานีส และอื่นๆตามเหมาะสมได้เลย

กรองน้ำ 1
2.เลือกท่อน้ำแบบไหนดี

เลือกท่อที่เหมาะสมสำหรับการจ่ายปุ๋ยจากห้องผสมปุ๋ย เลือกจากความหนา, ความสามารถในการป้องกันแสง, ความปลอดภัยของสารเคมีภายในท่อ(Food Grade), ความสามารถในการทนต่อแรงดันน้ำ

ทึบแสง กับ ไม่ทึบแสง
ท่อทึบแสงมีข้อดีคือช่วยป้องกันการเกิดตะไคร่ขึ้นภายในท่อ ส่วนมากจะเป็นเกรดวัสดุ UPVC ซึ่งเหนียว และสวยงามกว่าท่อ PVC ทั่วไป

รองรับแรงดัน Schedule 40 ,80 (SCH)
ความหนาของท่อปกติแล้ว SCH 40 สามารถทนต่อแรงดัน PSI ในระดับการใช้งานปกติได้ดีอยู่แล้ว แต่ในบางจุดที่ต้องมีแรงดันมาก แนะนำให้ใช้ SCH 80 แทน เพราะทนแรงดันได้มากกว่า 2 เท่า

ท่อ Food Grade มีเพื่อให้มั่นใจว่า ปลอดภัยไม่ละลายสารเคมีอัตรายหลุดออกมาผสมกับน้ำในท่อได้ ในการปลูกต้นไม้ อาจจะไม่มีความจำเป็น เว้นแต่ คุณต้องการลดความเสี่ยงจากกาวข้อต่อท่อที่อาจจะมีโลหะหนักอันตรายผสมมาด้วย สำหรับการปลูกแบบ Medical Grade อาจจะจำเป็นต้องใช้ 

จากห้องผสมปุ๋ยจนถึงห้องปลูก ให้ลดขนาดท่อจ่ายปุ๋ยลงทีละขนาด เพื่อปรับแรงดัน และให้น้ำเหลือค้างในระบบน้อยที่สุด

ท่อน้ำ
3. เลือกปั้มน้ำที่เหมาะสม

ปั้มน้ำในระบบปลูกแบบ Low-Flow ระหว่าง 40-60 PSI (หรือแบบที่ใช้ในฟาร์ม Indoor และบ้านเรือน) มีสองแบบหลักๆคือ ปั้มแบบทั่วไป (ตอนทำงานน้ำจะกระชากแรงช่วงแรก), และปั้มแบบ Digital ที่ควบคุมแรงดันน้ำให้คงที่ตลอดเวลา ไม่กระชากเวลาใช้งานตอนแรก เช่น DAB ที่ปรับได้ละเอียด และ Grundfos ที่นิยมใช้อยู่แล้วตามบ้านเรือนในไทย 

ปั้มน้ำ 1
4. เลือกวิธี/ระบบผสมปุ๋ย

Batch Tank Mixing: การผสมปุ๋ยด้วยการชั่งตวงเองในถังปุ๋ย, ผสมได้ตามต้องการ สามารถต่อกับระบบน้ำสำหรับจ่ายปุ๋ยในระบบต่อได้

Dosers (เช่น. Dosatron): โดยส่วนมากที่นิยมใช้จะเป็นแบบใช้แรงดัน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ตั้งค่าง่าย 1เครื่อง ต่อ ปุ๋ย 1ถัง, แนะนำใช้คู่กับปั้มน้ำที่มีแรงดันที่คงที่สม่ำเสมอ

ระบบน้ำ
5. ระบบปรับ pH ของน้ำ (ถ้าไม่ได้ใช้คิงเวล pH Auto Perfect)

ปุ๋ยหลังผสมจะต้องปรับค่า pH เพื่อให้ได้ค่า pH ที่เหมาะสมกับต้นไม้ ระหว่าง 5.5 - 6.5 โดยใช้น้ำยา pH Down, pH Up เพื่อปรับค่า pH ให้ขึ้น หรือ ลง หลังผสมปุ๋ยเสร็จ หรือปรับให้กับน้ำเปล่า, ปรับ 1 ครั้งสำหรับปลูกในระบบทั่วไป และปรับต่อเนื่องสำหรับการปลูกแบบ Hydroponic, Aeroponic 

การเลือกใช้น้ำยาปรับค่า pH ที่มีส่วนผสมที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ควรคำนึง คิงเวล Mira Up ช่วยปรับค่า pH ให้สูงขึ้นด้วยส่วนผสมจาก ซิลิก้าเข้มข้นสูง ที่ช่วยให้ก้านและใบ หนาอวบ แข็งแรง 

6. ดูแลฟิลเตอร์กรองน้ำ และความสะอาดของระบบ

ดูแลรักษาระบบปลูกของคุณให้สะอาด และทำงานได้ดีตลอดเวลา ฟิลเตอร์แบบ Dish Filer เป็นกรองแบบหยาบที่ทำงานได้ดีในระบบปลูก แนะนำให้ใช้ที่ 120Mesh (130Micron) ขึ้นไป โดยฟิลเตอร์ชนิดนี้ล้างทำความสะอาดได้ แนะนำให้ใช้ขนาดที่ใหญ่เพื่อการใช้งานที่นานขึ้นและได้ประสิทธิภาพมากขึ้น.

Untitled 1
7. ควบคุมการจ่ายน้ำไปห้องปลูกด้วยโซลินอยด์วาล์วไฟฟ้า คู่กับระบบควบน้ำ

การควบคุมการจ่ายน้ำของระบบปุ๋ยของเรา ให้ส่งปุ๋ยไปให้ถึงในห้องปลูกแต่ละห้องอย่างถูกต้องตามที่เรากำหนด, โดยเรามีห้องผสมปุ๋ยเพียงแค่ 1ห้อง และใช้ โซลินอยด์วาล์วไฟฟ้า ในการควบคุมทิศทางของน้ำแทน (สลับรางรถไฟ) ให้น้ำปุ๋ยถูกส่งไปห้องที่เราต้องการ 

โซลินอยด์วาล์วไฟฟ้า(Solenoid Valve) ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ไฟ DC 24V ในการทำงานคู่กับกล่องควบคุมการจ่ายปุ๋ย หรือเซ็นเซอร์แบบต่างๆ เช่น Growlink ที่เช็คจากความแห้งของกระถางต้นไม้โดยตรง 

โซลินอยด์วาล์วไฟฟ้า
8. เลือกหัวจ่ายปุ๋ย , หัวหยดปุ๋ยลงกระถาง

หลังจากที่น้ำปุ๋ยถูกจ่ายไปที่ห้องปลูกด้วยแรงดันที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนต่อไปคือเลือกหัวจ่ายปุ๋ย หรือหัวดริป(Drip), เพื่อหยดและควบคุมปริมาณน้ำปุ๋ยให้เท่ากันทุกต้น ปกติจะใช้สายไมโครดริป เพื่อต่อกับหัวหยดน้ำปุ๋ย 

ดูแลหัวจ่ายปุ๋ยไม่ให้มีคราบเกลือสะสมนานจนหัวตัน หรือระบบเสียหายด้วย OXY ROOT ที่ช่วยสลายคลาบเกลือ และช่วยลดแบททีเรียทำให้น้ำสะอาดอยู่ตลอดเวลา

หัวน้ำหยด
9. เพิ่มฟังชั่นให้ระบบปลูกของเรา

ลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระบบปลูก เช่น

ฟลัชวาล์ว: ใช้สำหรับระบายปุ๋ยทิ้ง เมื่อมีปุ๋ยที่ค้างในท่อหลังจากที่เราปิดวาล์วน้ำ ทำให้แรงดัน PSI ในท่อต่ำลง น้ำที่ค้างในท่อจะระบายออกโดยอัตโนมัติผ่านทาง Flush valves ทำให้ไม่มีปุ๋ยเก่าตกค้างในท่อจ่ายปุ๋ย.

แอร์วาล์ว: หรือจุดที่ใช้สำหรับระบายอากาศที่ค้างในท่อ ช่วยให้การจ่ายน้ำปุ๋ยคงที่ ไม่เจออากาศแทนที่ปุ๋ยส่งผลให้ปริมาณน้ำในแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากันในช่วงแรกของการจ่ายปุ๋ยในระบบ

เลือกปุ๋ยที่หมาะสมกับระบบ

ด้วยคิงเวลโปรเกรดสามารถใช้คู่กับระบบจ่ายปุ๋ยได้สะดวก ออกแบบมาเพื่อมืออาชีพโดยเฉพาะ, ใช้ขั้นตอนการผสมที่ไม่สับซ้อน ศึกษาปุ๋ยคิงเวลเพิ่มเติมได้จากที่นี้, ปุ๋ย 250กรัม ทำปุ๋ยน้ำเข้มข้นได้ถึง 1ลิตร และใช้เพื่อตวงปริมาตรใช้ หรือกำหนดอัตราการผสมจากเครื่องดึงปุ๋ยเช่น Dosatron ได้เหมาะสมง่าย

สัดส่วนในการละลายปุ๋ย หรือตาราง FINE TUNE IRRIGATION เพื่อใช้ปุ๋ยคิงเวลโปรเกรดร่วมกับเครื่องจ่ายปุ๋ย Dosatron ที่ควบคุมด้วยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ได้ EC ตามเป้าหมายที่ต้องการ, ทั้งนี้ศึกษาตารางการให้ปุ๋ยคิงเวล ควบคู่ไปกับการใช้งานไปด้วย

FINE TUNE IRRIGATION scaled
FINE TUNE IRRIGATION2 scaled

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *